วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ปลากัด



ปลากัด

วิธีการเลี้ยงปลากัด

        ปลากัดเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่าสนใจมาก เพราะมันมีสีสันที่สวยงาม ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยงมากนักและมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป ตัวผู้จะมีหางที่ยาวในขณะที่ตัวเมียดูเรียบง่ายกว่าเมื่อเทียบกับตัวผู้ ปลากัดเป็นปลามีสีสันหลากหลายเช่น แดง ฟ้า ม่วง และขาวเพื่อให้ปลากัดมีสุขภาพที่ดีและร่างเริงมีข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติตามดังนี้ในการเลี้ยงปลากัดควรแยกเพศผู้ให้อยู่ตัวเดียวเพราะถ้าอยู่ร่วมกันมันจะต่อสู้กันจนเกิดการตายได้แต่ถ้าเป็นปลาเพศเมียจะมีนิสัยไม่ดุร้ายและสามารถที่จะเลี้ยงรวมกันเป็นจำนวนมากได้ปลากัดมีถิ่นกำเนิดตรงบริเวณน้ำนิ่งที่เป็นทุ่งข้าวทางเอเชียใต้ ดังนั้นปริมาณออกซิเจนที่มันได้รับจึงต่ำมันจึงมีการช่วยหายใจโดยงับเอาอากาศที่บริเวณผิวน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนด้วยเหตุนี้ปลากัดจึงไม่ต้องการท่อออกซิเจนในภาชนะเลี้ยงปลาและขนาดของภาชนะไม่ควรจะเล็กเกินไป ควรมีขนาดที่พอเหมาะ โดยอาจจะเป็นภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัดโดยเฉพาะ หรือ อาจนำแก้วใส่บรั่นดีขนาดใหญ่มาเลี้ยงก็ได้ควรจะใส่กรวดหินพืชน้ำหรือหาวัสดุมาตกแต่งที่เลี้ยงปลาให้สวยงามเพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่สำหรับปลากัดและมีความสวยงามแก่ผู้ที่พบเห็นอีกด้วยน้ำในภาชนะเลี้ยงควรเปลี่ยนทุก2อาทิตย์ โดยน้ำที่เปลี่ยนนี้ต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลากัดเช่นในน้ำประปาจะมีสารแปลกปลอมโดยเฉพาะคอร์รีนซึ่งจะเป็นอันตรายต่อปลากัด ดังนั้นก่อนจะเปลี่ยนน้ำควรพักน้ำประปาไว้2วันก่อน เพื่อให้ คอร์รีน ในน้ำระเหยออกไปในอากาศ ผู้เลี้ยงอาจจะใช้น้ำกรองหรือน้ำที่ซื้อมาจากร้านขายปลาก็ได้ นอกจากนี้ควรเก็บน้ำเดิมไว้1/4ส่วนรวมกับน้ำที่จะนำมาเปลี่ยน3/4ส่วน เพราะจะเป็นการรักษาสมดุลของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อปลากัด ผู้เลี้ยงควรทำความสะอาดภาชนะด้วยผ้าหรือกระดาษที่สะอาด ไม่ควรใช้สารทำความสะอาดเพราะถ้าตกค้างจะเป็นอันตรายต่อปลากัด นอกจากนี้อุณหภูมิของน้ำควรจะเท่ากับอุณหภูมิห้องก่อนที่จะนำปลากัดไปปล่อยในน้ำด้วย

อาหารปลากัด

ไรแดงน้ำจืด
              ไรแดงเหล่านี้ หาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป หรือเพื่อความสะดวกก็หาซื้อได้ตามร้านขายอาหารปลา แนะนำให้ใช้แบบสด เนื่องจาก สามารถใช้เลี้ยงได้ตั้งแต่ลูกปลาแรกเกิด โอกาสที่น้ำจะเสีย
ค่อนข้างน้อยกว่าการให้แบบแช่แข็ง เพราะอาหารที่ตายแล้ว ส่วนใหญ่ลูกปลามักไม่ค่อยสนใจ จนทำให้เศษอาหาร ที่เหลือเป็นตัวทำให้น้ำเน่าเสีย แล้วก็ทำให้เราดูแลลำบากมากขึ้น เพราะการจะย้ายลูกปลานั้น ค่อนข้างยาก จะเปลี่ยนถ่ายน้ำก็ไม่ได้ เพราะเดี๋ยวลูกปลาจะเล็ดลอดติดไปกับสายยางที่ใช้ดูดน้ำเสีย                การให้อาหารลูกปลานั้นต้องระวังพอสมควร ให้ปริมาณพอเพียง แต่ให้บ่อยหน่อยจะดีกว่า นอกจากใช้เลี้ยงลูกปลาแล้ว ไรแดงสามารถใช้เลี้ยง
ปลาโตเต็มวัยได้ด้วยเช่นกัน

หนอนแดง
            หนอนแดงหาจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เหมาะสำหรับเลี้ยงปลาโตเต็มวัยดีมาก ค่อนข้างสะอาด โปรตีนสูง ถ้าเป็นแบบสด ซื้อมาแล้วก็ล้างน้ำให้สะอาดอีกสักหน่อย ก็ให้ปลากินได้เลย ส่วนแบบแช่แข็ง ต้องมีวิธีการให้นิดนึง เนื่องจากตายแล้ว เพียงแต่ยังคงความสดอยู่ เวลาไปซื้อก็สังเกตที่แพ็คเกจด้วย หนอนแดงแช่แข็งที่ใหม่สีจะแดง ถ้าเห็นออกเป็นสีดำๆ นั่นเป็นหนอนแดงที่เก่าแล้ว เวลาให้ปลาจะเน่าเสียได้ 
            วิธีการให้ปลากิน ก็มีดังนี้ เนื่องจากหนอนแดงแช่แข็ง จะแบ่งเป็นหลุมสี่เหลี่ยมลูกเต๋าแล้ว ง่ายต่อการแบ่งออกมาใช้ หากปลาไม่มาก เพียงแค่หลุมเดียวก็น่าจะพอ แต่ถ้าเลี้ยงปลาเยอะ ก็คงต้องใช้หลายหลุุมก็กะเอาตามความเหมาะสม หลังจากนำออกจากฟอยล์แล้ว ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วหันไปทำภาระกิจอื่นก่อนได้เลย ปล่อยให้หนอนที่จับตัวเป็นก้อน ละลายเอง เมื่อหนอนละลายแล้ว ก็นำช้อนหรือ อุปกรณ์ใดๆ ที่สะดวกมาตักแต่ตัวหนอน นำไปให้ปลากิน เฉลี่ยโดยประมาณ 10 เส้น ต่อ 1 ตัว จะให้อาหารวันละครั้ง หรือสองครั้งก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องให้มาก เดี๋ยวท้องอืด สาเหตุที่ต้องปล่อยให้หนอนแดงละลายเอง เพราะความคาวของเลือดจะยังคงอยู่ แต่ถ้าหากนำไปละลายกับน้ำจะทำให้เลือดละลายออกไปหมด ปลาจะไม่ค่อยสนใจเข้ามากินอาหาร

ไรทะเล
             อาหารตัวนี้ สามารถให้ปลากัดกินได้ แต่เนื่องจากมีความเค็มอยู่ในตัวมาก อาจจะไม่เป็นผลดีต่อปลากัดเท่าไหร่นัก
ก่อนจะให้ปลากินต้องล้างน้ำเปล่าหลายๆ ครั้งเพื่อทำให้ความเค็มเจือจางลง


 ลูกน้ำ
            เป็นอาหารที่หาง่าย โปรตีนสูงมากๆ ปลาชอบกิน จะสังเกตได้ เวลาเลี้ยงปลากัดด้วยลูกน้ำ ปลาจะตัวหนา โตไว แต่ก็ต้องล้างน้ำให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะลูกน้ำมักจะอยู่ตามน้ำครำสกปรก  หากล้างไม่สะอาดปลากินเข้าไป โอกาสที่จะทำให้เป็นโรคก็สูงด้วยเช่นกัน แนะนำให้ล้างตามขั้นตอนดังนี้ เริ่มจากนำลูกน้ำที่ช้อนได้มาคัดกรองขยะมูลฝอยที่ติดมาพร้อมกับกระชอนออกซะก่อน โดยหาตาข่ายขนาดที่ลูกน้ำสามารถแทรกตัวออกไปได้ แล้วเศษขยะก็จะติดอยู่กับตาข่าย จากนั้นก็รอสักพัก ลูกน้ำจะคายเศษสกปรกออกมา เราก็ตักออกไปแช่ในน้ำใหม่ที่ผสมด่างทับทิมเจือจาง แล้วรอสักครู่ จึงตักขึ้นย้ายไปยังน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ แล้วก็รอต่อไปอีกสักพัก จึงตักลูกน้ำย้ายไปยังน้ำสะอาด
อีกหนึ่งรอบเป็นอันเสร็จสิ้น เท่ากับเราต้องล้างน้ำ ถึง 4 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อโรค และความสกปรกที่อยู่กับลูกน้ำถูกชะล้างออกไปมากพอ แล้วเราก็นำไปให้กับเหล่าปลากัดแสนรักกินได้เลย

สายพันธุ์ปลากัด 

ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง


 
              ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาลเทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า “เครื่อง” จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและ เครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ ปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลา สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ “ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหา ปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปน อยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่

ปลากัดหม้อ



              Bettar Fighting Fishปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวัง จะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่า มากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่ อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า “ปลาสังกะสี” ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะ ต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงาม แปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทย นับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้ คำว่า “ลูกหม้อ” นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจ ของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วน มากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภท “ลูกแท้” และ “ลูกสับ” ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิด จากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า “สังกะสี” เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอด น้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ “ลูกหม้อ” จึง เป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ “มาเลย์” หรือ “สิงคโปร์” ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการ หมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้า ได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไป พัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง

ปลากัดจีน



              เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย

ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือปลากัดเดลตา
 

เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม ๔๕ – ๖๐ องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก “ซูเปอร์เดลตา” ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง

ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือปลากัดฮาล์ฟมูนเดลตา

 
เป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ได้มีแนวคิดและความพยายามในการที่จะพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน
ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง ๒ ครั้ง เป็น ๔ แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัวและครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น ๒ แฉกจะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม ๑๘๐ องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม
 
 ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล


เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหางจักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่นๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ
 

อีกัวน่าเขียว

อีกัวน่าเขียว(Green Iguana) 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Iguana iguana
ลักษณะทั่วไป
  •     เป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ สีเขียว หัวโตมีหนามแหลมคล้ายหวีอยู่แนวกลางของลำตัว ซึ่งหนามนี้จะเห็นได้ชัดที่สุด ตั้งแต่ตรงคอไปถึงหาง บริเวณลำคอมีปุ่มกลมขนาดใหญ่ ใต้คอมีเหนียงขรุขระขนาดใหญ่ ตัวผู้ตัวโต มีหัวโตและมีแผงหนามชัดเจนกว่าตัวเมีย
อาหารอีกัวน่า
            อิกัวน่าเป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก เมื่อเป็นสัตว์กินพืช อิกัวน่ากินใบไม้ หญ้า พืชต้นเล็กๆ ดอกไม้ ผลไม้ และเมล็ด และอาหารที่ดีที่สุด สำหรับ มันก็หลากหลาย ไม่มีพืชชนิดใดที่มีสารอาหารที่อิกัวน่า ต้องการครบ ถ้วน การให้อิกัวน่ากินอาหาร ที่มีแต่สารอาหารชนิดเดียว จะทำให้มัน เป็นโรคขาดสารอาหารได้ อิกัวน่าที่เป็น สัตว์เลี้ยง ที่จะไมค่อย ออกไป บริเวณอื่น ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่จะต้องให้มันกิน อาหาร หลากหลาย ชนิด

             ถ้าไม่ได้กิน พวกมันจะเป็นโรคกระดูก ซึ่งนับเป็นความผิดปกติที่อันตรายอันเกิดจาก การกินอาหาร ไม่เหมาะสม อาการของโรคนี้คือขาผิดรูป ต้นขาบวม ขากรรไกรบวม และกระดูกหัก การรักษาอย่างทันท่วงที บางครั้งก็สามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็นด้วย และถ้าเป็นมากถึงจะรอดก็อาจจะพิการได้

              ความหลากหลายและสมดุลคือหัวใจ ควรใช้ผักสีเขียวเข้มที่อุดมด้วยแคลเซี่ยม เป็นอาหารอิกัวน่าประมาณ 40% ของอาหารในแต่ละวัน หญ้าแอลฟัลฟา (หญ้าแห้ง ใบ ดอก) บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี ถั่วเขียว ผักขม และผักกาดเขียวเป็นทางเลือกที่ดี 50 เปอร์เซ็นต์ของอาหาร ควรทำจากผักหรือพืชอื่น ได้แก่ แฟงหรือฟักทองขูดฝอย ซูกินี่ พริกหยวก หน่อไม้ แครอทหั่นฝอย ผักผสมบรรจุกระป๋องหรือแช่แข็ง ถั่ว อีก 10 เปอร์เซ็นต์ของอาหารคือ อาหารอิกัวน่าหรือผลไม้สด รวมทั้ง มันฝรั่ง กล้วย องุ่น มะละกอ อิกัวน่าสามารถกินดอกกุหลาบที่สะอาด กลีบดอกชบา บางคราวคุณอาจให้มันกินขนมปัง ธัญพืชพวกรำข้าวไม่มีน้ำตาล อาหารสุนัข (ที่มีใยอาหารสูงและแคลอรี่ต่ำ) ที่สามารถเปื่อยยุ่ยได้ในน้ำ ไข่ต้มบดหรือเต้าหู้

                อิกัวน่าที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตจะต้องการโปรตีนมากกว่าอิกัวน่าที่โตแล้ว อาหารควรเป็นผักสีเขียวเข้ม 40% และผักอื่นๆอีก 40% ที่เหลือควรเป็นขนมปัง รำข้าวไร้น้ำตาล อาหารอิกัวน่า หรือเต้าหู้
วิตามินและแร่ธาตุเสริมสำหรับอิกัวน่ามีขายตามท้องตลาด คุณอาจใส่เพิ่มลงไปในอาหาร ได้ตามคำแนะนำบนฉลากที่แนบมา แต่ถ้าคุณให้อิกัวน่ากินอาหารที่ดีและหลากหลายแล้ว อาหารเสริมก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าคุณยังกังวลเกี่ยวกับอาหารที่อิกัวน่ากิน จะให้อาหารเสริมก็ได้ ถ้าคุณทำตามคำแนะนำที่แนบมากับอาหารเสริมสำหรับอิกัวน่าแล้วล่ะก็ มันก็จะไม่มีอันตราย ต่ออิกัวน่าของคุณ แต่อย่าใช้อาหารเสริมสำหรับสัตว์เลื้อยคลายประเภทอื่น(โดยเฉพาะสัตว์กินเนื้อ) หรือสายพันธุ์อื่น เพราะมันจะเป็นอันตรายมากกว่าผลดี
              ผักสีเขียวไม่ได้มีคุณค่าเท่ากัน อิกัวน่าของคุณต้องการบร็อคโคลี่ ผักขม และผักสีเขียวเข้มอื่นๆ แต่ไม่ควรเกิน 40% ของอาหารทั้งหมด การกินผักสีเขียวมากเกินไปจะทำลายการดูดซึมแคลเซี่ยม และการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงที่น่ารักของคุณ แต่อย่าเอาผักเหล่านี้ออกจากรายการอาหารประจำวันของอิกัวน่าซะล่ะ เพราะนี่คือสารอาหาร แค่เอาผักพวกนี้ไปผสมกับผักสีเขียวอื่นๆ ก็เพียงพอ

  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

  •        ชอบอยู่ในป่าร้อนชื้น ชอบไต่ไปตามกิ่งไม้หรือขอนไม้ บางครั้งไต่ได้อย่างรวดเร็วไปตามพุ่มไม้และอาจลงน้ำได้เป็นบางครั้ง เมื่อยังเล็กจะกินเฉพาะแมลง แต่พอโตเต็มวัยแล้วจะกินพืชเป็นหลัก กรีนอีกัวน่าวางไข่ครั้งละ 20-40 ฟอง ต่อ ครั้ง ระยะฟักไข่นาน 10-15 สัปดาห์
  • ปัญหาเรื่องอากาศเย็น
                        แก้ไขได้ ใช้หลอดไฟทังสเตนส่อง สร้างความอบอุ่นเวลาลอกคราบ อีกัวน่าจะเปลี่ยนสีดูหม่นลง มีปื้นสีเทาหรือขาวขึ้นทั่วลำตัว เริ่มลอกคราบจากส่วนหัว ลำตัว ขาและหาง และส่วนย่อยที่เปลือกตา หู แผงหลังช่วงลอกคราบอากาศต้องชื้น ความชื้นตามธรรมชาติช่วยสร้างน้ำมันระหว่างชั้นผิวหนัง ช่วยให้ ผิวหนังเก่าอ่อนตัว ลอกง่าย ถ้าเลี้ยงบริเวณอากาศแห้งจะทำให้ลอกคราบยาก กว่าจะหมดทั้งตัวใช้ เวลานาน ผู้เลี้ยงช่วยลอกคราบได้ ดึงผิวออกเบาๆ ถ้าลอกคราบไม่หมดจะเกิดปัญหา คราบจะรัดแน่นทำให้เนื้อเยื่อ ส่วนนั้นตาย เพราะขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทอายุ 3 ปี อีกัวน่าเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ อีกัวน่าหนุ่มสาวจะผสมพันธุ์ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ตัวเมีย.จะขุดดินวางไข่ในดินครั้งละ 20-30 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 1 เดือน ลูกอีกัวน่าตัวน้อย จะทยอยออกมาลืมตาดูโลกแม้จะเป็นสัตว์อายุยืน แต่ก็มีโรคภัย มักจะเป็นโรคเกิดจากผู้เลี้ยง เช่น ให้วิตามินดีสูงเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะไม่สมดุล ระหว่างแคลเซียมกับฟอสฟอรัสวิตามินดีจะดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร ทำให้ปริมาณแคลเซียมสูงเกินไป สะสมที่ผิวหนังและ หลอดเลือดจนร่างกายอ่อนแอ อาจตายได้ในทางกลับกัน ถ้าปริมาณแคลเซียมและวิตามินอีในอาหารต่ำเกินไป แคลเซียมของกระดูกจะปรับสมดุล ทำให้กระดูกเปราะบาง ทำให้กระดูกหัก เดินไม่ได้

โคนม

                            การเลี้ยงโคนม
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทุน สถานที่ ตลาด และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบ     ในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะทุนในการดำเนินการ
1.ทุนสำหรับเชื้อโรค
2.ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์
3.ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้า
4.ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลปประทาน
5.ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึงทุนหมุนเวียน เช่น ค่าอาหารหรือค่าแรงงานต่าง ๆ เป็นต้น
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธี ซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละ บุคคล ในการเริ่มต้นที่จะเลี้ยง ซึ่งอาจพอแนะนำ พอเป็นสังเขปได้ เช่น
1.เริ่มต้นโดยการหา หรือเลือกซื้อแม่โคพันธุ์พื้นเมืองหรือแม่ที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็น โรคติดต่อมาเลี้ยง
2. แล้วใช้วิธีผสมเทียนกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรป พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง เมื่อได้ ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม 50%
3.ซึ่งเมื่อเลี้ยงดูต่อไปอีกประมาณ 30-36 เดือน ก็จะให้ลูกตัวแรก แม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้
4.เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยงโดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กิน ในปริมาณจำกัด
5.พร้อมทั้งให้อาหารข้นลูกโคอ่อนและหญ้าจนกระทั่งหย่านมถึงอายุผสมพันธุ์-ตั้งท้อง- คลอดลูก และเริ่มรีดนมได้
6.เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม, โครุ่น, โคสาว หรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคยให้นมแล้วจากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนเร็ว

             อย่างไรก็ตาม อาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้ หรืออาจเป็นอาชีพรองอาชีพหนึ่ง ที่เกษตรกรควรจะทำควบคู่กันไปกับอาชีพอื่นก็ย่อมได้เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ปัจจุบันมีเกษตรกร จำนวนมากที่หันมาประกอบอาชีพการเลี้ยงโคทั้งนี้เพราะได้เห็นตัวอย่างจากเพื่อเกษตรกรที่ยึดอาชีพเลี้ยงโค นมมาก่อน ปรากฏว่ามีรายได้ดี สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้ครอบครัวมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น อีกทั้ง ยังได้รับผลพลอยได้อื่น ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น ทำให้เด็ก ๆ มีจิตใจรักสัตว์ มีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มูลสัตว์ยังใช้เป็นปุ๋ยและช่วยบำรุงดิน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรอีกเป็น จำ
                                        
                                   หลักในการเลือกซื้อโคนม

        ไม่ว่าเกษตรกรจะเริ่มต้นเลี้ยงโคนมด้วยวิธีใดก็ตามควรจะมีหลักในการพิจารณาเลือกซื้อโคนมบ้าง เพื่อให้ได้สัตว์ที่มีคุณภาพดี ซึ่งหลักในการ พิจารณาเลือกซื้อโคนมดังกล่าวมีอยู่หลายประการอาจ กล่าวแนะนำพอเป็นสังเขปได้ คือ
1.ไม่ว่าจะเลือกซื้อโคขนาดใดก็ตามต้องสอบถามประวัติ ซึ่งหมายถึงสายพันธุ์และความเป็นมา อย่างน้อยพอสังเขป
2.ถ้าเป็นโครีดนมควรจะเป็นแม่โคที่ให้ลูกตัวที่ 1 ถึงตัวที่ 4
3.ถ้าเป็นแม่โคที่รีดนมมาหลายเดือนควรจะตั้งท้องด้วย
4.ถ้าเป็นโคสาวหรือแม่โคนมแห้งก็ควรจะเป็นแม่โคที่ตั้งท้องด้วย เพื่อเป็นการย่นระยะเวลาจะได้รีดนมเร็ว ขึ้น
5.ควรเป็นโคที่มีประวัติการให้นมดีพอใช้และต้องปอดจากโรคแท้งติดต่อและโรควัณโรค
                                                          
                                                                     การรีดนม
           คือ การกระทำอย่างใดอยางหนึ่งเพื่อที่จะเอานมออกจากเต้านมของแม่โค   น้ำนมส่วนมากจะถูกขับออกมาโดยการกระตุ้นทางระบบประสาทและฮอร์โมนพร้อม ๆ กับการรีด  นั่นคือ  การทำให้ภายในหัวนมเกิดมีแรงอัดดันจนทำให้รูหูนมเปิดออก   น้ำนมซึ่งอยู่ภายในจึงไหลออกได้
การรีดนมมีอยู่ 2 วิธีคือ          1.  การรีดนมด้วยมือ
          2.  การรีดนมด้วยเครื่อง






หลักที่ควรคำนึงถึงและถือปฏิบัติในการรีดนม
          1.  ควรรีดให้สะอาด
          2.  ควรรีดให้เสร็จโดยเร็ว
          3.  ควรรีดให้น้ำนมหมดเต้า

อุปกรณ์การรีดนมด้วยมือ
 ขั้นตอนในการรีดนมเพื่อให้ได้น้ำนมที่สะอาด
          1.  การเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำยาคลอรีนอย่างเจือจาง
          2.  การเตรียมอุปกรณ์การรีดซึ่งรวมถึงผู้ที่ทำการรีดและแม่โค   ให้เรียบร้อยการเตรียมการต่าง ๆ ควรจัดการให้สะอาดหรือฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาคลอรีน
          3.  ทำความสะอาดตัวโคและบริเวณคอกที่สกปรก
          4.  ล้างเต้านมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำยาคลอรีนพร้อมกับนวดเช็ดเบา ๆ
          5.  ก่อนลงมือรีดควรตรวจสอบความผิดปกติของน้ำนมหรือทำการรีดน้ำนมที่ค้างอยู่ในหัวนมทิ้งเสียก่อน
          6.  ขณะลงมือรีดนมควรรีบรีดให้เร็วที่สุดไม่หยุดพัก   กะให้เสร็จภายใน  5 - 8 นาที  และต้องรีดให้หมดทุกเต้า

 การรีดนมด้วยมือ
          กระทำได้โดยการ
 ใช้นิ้วหัวแม่มือ   นิ้วชี้บีบหรือรีดหัวนมตอนบน   เพื่อเป็นการปิดทางนมเป็นการกันไม่ให้น้ำนมในหัวนมหนีขึ้นไปอยู่ตอนบน   ต่อมาก็ใช้นิ้วที่เหลือ (กลาง, นาง, ก้อย)  ทำการบีบไล่น้ำนมตั้งแต่ตอนบนเรื่อยลงมาข้างล่างจะทำให้ภายในหัวนมมีแรงอัดและน้ำนมจะถูกดันผ่านรูนมออกมาและเมื่อขณะที่ปล่อยช่องนิ้ว (หัวแม่มือ, นิ้วชี้)  ที่รีดนัวนมตอนบนออก   น้ำนมซึ่งมีอยู่ในถุงพับนมข้างบนจะไหลลงมาส่วนล่าง   เป็นการเติมให้แก่หัวนมอีกเป็นเช่นนี้ตลอดระยะเวลาที่รีดจนกระทั่งน้ำนมหมด

การรีดนมด้วยมือ

 วิธีการหยุดรีดนมแม่โค
          ในการหยุดรีดนมแม่โค  โดยเฉพาะแม่โคที่เคยให้นมมาก ๆ ควรจะต้องระมัดระวังในการหยุดรีด   เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคเต้านมอักเสบได้โดยง่าย   วิธีการหยุดรีดควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป  กล่าวคือ  ในขั้นต้นอย่ารีดให้น้ำนมหมดเต้าเลยทีเดียว  ในช่วงแรก ๆ ควรค่อย ๆ ลดอาหารข้นลงบ้างตามส่วน   แล้วต่อไปจึงเริ่มลดจำนวนครั้งที่รีดนมในวันหนึ่ง ๆ ลงมาเป็นวันละครั้ง   ต่อมาก็รีดเว้นวันและต่อมาก็เว้นช่วงให้นานขึ้น   จนกระทั่งหยุดรีดนม   ในที่สุดซึ่งปกติโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้เวลาประมาณ 15 - 30 วัน  และในขณะที่หยุดพักรีดนมนี้จะต้องหมั่นสังเกตเต้านมอยู่เสมอ   ถ้าปรากฏว่าบวมแดงหรืออักเสบ   ต้องรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยรักษาและต้องหวนกลับมารีดนมตามเดิมไปก่อน   ถ้าไม่มีโรคแทรกแล้วเต้านมของแม่โคที่พักการให้นมใหม่ ๆ โดยทั่วไปก็จะคัดเต้าอยู่สักระยะหนึ่ง   แล้วจึงค่อย ๆ ลีบเล็กลงไปในที่สุด
ปัญหาที่พบบ่อยในการรีดนม
          1.  ถ้ารู้ว่าโคตัวใดเป็นโรคเต้านมอักเสบให้ทำการรีดหลังโคตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระจายของโรค  และควรรีดเต้าที่อักเสบทีหลังสุด  และให้ระวังการเช็ดล้างเต้านม
          2.  ถ้าโคตัวใดเป็นแผลหรือเป็นฝีที่หัวนม  ขณะที่ทำการรีดนมแม่โคอาจแสดงอาการเจ็บปวด  อาจทำร้ายคนรีดได้ในกรณีเวลารีดควรแตะต้องแผลให้น้อยที่สุดและควรรีบจัดการรักษาใส่ยาหรือใช้ขี้ผึ้งทา   หลังรีดนมเสร็จแล้วควรล้างมือให้สะอาดด้วย
          3.  ถ้ามีโคตัวใดนมรั่ว  ซึ่งเกิดจากเต้านมคัดซึ่งเป็นเพราะกล้ามเนื้อวงแหวนที่รัดรูหัวนมไม่แข็งแรงพอหรือค่อนข้างเสื่อมสมรรถภาพ  กรณีที่ไม่มีแนวทางแก้ไขอาจใช้จุกปิดหรืออุดรูหัวนม  หรือใช้วิธีรีดนมให้ถี่ขึ้นก็ได้
          4.  ถ้าพบว่าแม่โคบางตัวให้น้ำนมที่มีสีผิดปกติเกิดขึ้น   กล่าวคือ   น้ำนมอาจเป็นสีแดงหรือมีสีเลือดปนออกมา  ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นเลือดฝอยในเต้านมแตกซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ จะค่อย ๆ หายไปเองในไม่ช้า   น้ำนมที่ได้ควรนำไปให้ลูกโคกินไม่ควรบริโภค
          5.  ถ้าพบว่าแม่โคตัวใดเตะเก่ง   ขณะทำการรีดจะต้องใช้เชือกมัดขา   ซึ่งควรค่อย ๆ ทำการฝึกหัดให้เคยชิน  โดยไมต้องใช้เชือกมัด   เพราะวิธีการมัดขารีดนมไม่ใช่เป็นวิธีการที่ดีจะทำให้วัวเคยตัว
 
การรีดนมด้วยเครื่องรีดนมมีขั้นตอน ดังนี้
1.เตรียมเครื่องรีดนม เปลี่ยนใส้กรองของท่อเครื่องรีดนมให้เรียบร้อย
2.ประกอบตัวถังเครื่องรีดนมแยกจากเครื่องใหญ่ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมตรวจเช็กอุปกรณ์ในห้องรีดให้ครบ
3.เปิดระบบเครื่องรีดนมให้ทำงานพร้อมเตรียมตัวรีดนมต่อไป
4.ปล่อยแม่โครีดนมเข้าห้องรีดนม
5.ทำความสะอาดเต้าแม่โครีดนมให้เรียบร้อย โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดเต้านมที่เตรียมไว้ พร้อมกระตุ้นเต้านมให้แม่โคปล่อยน้ำนม และตรวจทานไม่โคนมจะต้องไม่เป็นเต้านมอักเสบ ในกรณีที่เป็นก็รีดใส่ถังแยกต่างหากไม่ใช้เครื่องใหญ่รีดรวมปะปนกันเข้าไปในถังเก็บนมใหญ่
6.จากนั้นก็สวมหัวเครื่องรีดนมได้ ขั้นตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับระบบของเครื่องรีดนม อาทิ บางรุ่นจะต้องกดปุ่ม       รีดนมก่อนถึงจะรีดได้ บางรุ่นสามารถดึงมาสวมใส่เต้านมได้เลย เป็นต้น
7.รอจนกว่าหัวรีดนมจะหยุดทำงานเองโดยอัตโนมัติ เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปยื่นรอสามารถไปรีดนมตัว      อื่นได้เลย แล้วหัวรีดนมจะหยุดเองโดยอัตโนมัติ
8.เมื่อหัวรีดนมหยุดทำงานแล้ว ก็ไปตรวจเต้านมของแม่โคดูว่าแม่โคตัวนั้นๆ ให้นมหมดเต้าหรือยัง ใน        กรณีให้ยังไม่หมดเต้าเราสามารถรีดนมซ้ำอีกรอบก็ได้ เมื่อตรวจทานครบทุกตัวแล้ว ปล่อยโคชุดนั้นๆ      ออกไปได้แล้วเตรียมตัวรีดแม่โคนมชุดต่อไป

   ตัวอย่าง อุปกรณ์การรีดนมด้วยเครื่องรีดนม

                                                                          เครื่องรีดนม
 
                                การเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
   น้ำนมที่ใช้บริโภคมีทั้งน้ำนมที่ได้จากพืช เช่น  ถั่วเหลือง และน้ำนมที่ได้จากสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค แพะ แกะ กระบือ เป็นต้น น้ำนมโคมีส่วนประกอบที่ใกล้เคียงกับน้ำนมคน (มารดา) มากที่สุด  จึงนิยมบริโภคกันทั่วโลก
          การเลี้ยงโคนมเพื่อนำน้ำนมมาบริโภคในประเทศไทยเริ่มมานานแล้ว แต่เพิ่งมาเลี้ยงอย่างจริงจังเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์กขึ้นที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี   ร่วมกับพระเจ้าเฟรเดริคที่   ๙   (King  Frederick  IX) แห่งประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ศูนย์ฝึกอบรมนี้ ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย    มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะเดียวกัน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทดลองเลี้ยงโคนมด้วยพระองค์เอง  ในบริเวณสวนจิตรลดา และเมื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถผลิตน้ำนมดิบได้เกินความต้องการของตลาด ก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างโรงงานนมผง  และศูนย์รับนม นอกจากนี้ยังทรงริเริ่มให้มีการจัดตั้งบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ดำเนินการผลิตนมผงใน  พ.ศ.  ๒๕๑๕ ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ทรงโอนกิจการของบริษัทนี้ให้สหกรณ์โคนมราชบุรี  จำกัด  ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)
          ในปัจจุบันมีแหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญอยู่  ๔ แห่ง คือ บริเวณจังหวัดสระบุรี-นครราชสีมาลพบุรี บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรีบริเวณจังหวัดเชียงใหม่   และบริเวณจังหวัดราชบุรี-นครปฐม   เกษตรกรในสามแหล่งแรกส่งน้ำนมดิบเข้าโรงงานขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่อำเภอมวกเหล็ก  จังหวัดสระบุรีอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ส่วนแหล่งสุดท้ายส่งเข้าโรงงานของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี  จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) อย่างไรก็ตาม   ในระยะหลังได้มีการมีเลี้ยงโคนมกว้างขวางยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะในบริเวณใกล้เคียงกับวิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาและบริษัทเอกชนที่มีการแปรรูปนม
          การเลี้ยงโคนมแม้มีรายจ่ายค่อนข้างสูงแต่ผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคนมจะสูงกว่าการทำนาทำไร่หลายเท่า   จึงเป็นการสร้างรายได้ที่ดีของเกษตรกร  ทั้งที่มีอาชีพเลี้ยงโคนมโดยตรง และที่เป็นอาชีพเสริม นับว่ามีส่วนช่วยในการสร้างงานในชนบทของชาติ  และช่วยลดการสูญเสียเงินตราให้แก่ต่างประเทศจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมชนิดต่างๆ  ประกอบกับประเทศไทยก็มีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปศุสัตว์ เนื่องจากอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารสัตว์ เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ผลิตผลพืชไร่ (ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ) วัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมทางการเกษตร (เปลือกข้าว รำข้าว เปลือกสับปะรด  ยอดอ้อยกากน้ำตาล  ฯลฯ) ซึ่งมีราคาถูก และสามารถเลือกใช้ทดแทนกันได้หากสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีราคาเพิ่มขึ้น ส่วนมูลโคก็มีประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ดินของเกษตรกรและอาจนำมาใช้ทำแก๊สชีวภาพสำหรับใช้ในครอบครัวได้อีกด้วย การเลี้ยงโคนมจึงเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตผลที่ผลิตได้ เช่น แทนที่จะผลิตมันสำปะหลังเพื่อส่งออกสำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ในต่างประเทศก็นำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศเพื่อส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า เป็นต้น  นอกจากนี้ทางรัฐบาลก็ได้ให้การส่งเสริมทางด้านสินเชื่อการเกษตร  การปรับปรุงพันธุ์สัตว์โดยการผสมเทียม  การบริการสัตวแพทย์ และเกษตรกรสามารถขายน้ำนมดิบได้ในราคาประกันที่เป็นธรรม
          พันธุ์โคที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์โฮลสไตน์ (Holstein) ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น  ในอังกฤษเรียกว่า ฟรีเชียน (Friesian) ในเดนมาร์กเรียกว่า  ขาว-ดำ  (Black and White) หรือดัตช์ฟรีเชียน (Dutch  friesian)  ในอิสราเอลเรียกว่าอิสราเอลฟรีเชียน (Israel friesian)  เป็นต้น  เป็นโคนมที่มีลักษณะเด่นตรงที่มีสีดำตัดกับสีขาวอย่างชัดเจน  โคตัวผู้ที่โตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ ๘๐๐-๑,๐๐๐ กิโลกรัม ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ  ๖๐๐-๗๐๐ กิโลกรัม และเจริญเติบโตดีกว่าตัวผู้ แม่โคจะเจริญเต็มที่เมื่ออายุ  ๖-๗  ปีมีอายุผสมพันธุ์ประมาณ ๑๘ เดือน คลอดลูกเมื่ออายุได้  ๒๘-๓๐  เดือน  การให้นมอยู่ในเกณฑ์สูงประมาณ ๕,๐๐๐ กิโลกรัมต่อปี  มีไขมันนม ๓.๕% (ไขมันสีขาวเหมาะที่จะนำไปบริโภค)เคยมีความเชื่อกันว่าโคพันธุ์นี้มีสายเลือด ๑๐๐% ไม่สามารถเลี้ยงได้ดีในประเทศที่มีอากาศร้อน แต่ในอิสราเอลกลับเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ ในประเทศไทยโคพันธุ์นี้ส่วนใหญ่มีสายเลือดผสม   ๕๐-๗๕%  แต่ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีสายเลือดสูงขึ้นจนสามารถเลี้ยงสายเลือด ๑๐๐% ได้
          พันธุ์โคนมที่นิยมเลี้ยงมากอีกพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอำเภอมวกเหล็ก   คือ พันธุ์เรดเดน  (Red  dane)  ซึ่งพัฒนาขึ้นที่ประเทศเดนมาร์ก   ให้นมและเนื้อใกล้เคียงกับพันธุ์โฮลสไตน์แต่มีปัญหาในการปรับตัวในสภาพอากาศร้อน
          นอกจากนี้ยังมีโคพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งพัฒนามาจากอินเดียและปากีสถาน คือ พันธุ์เรดซินดิ (Red sindhi) และซาฮิวาล (Sahiwal)  ให้นมน้อยกว่าพันธุ์ยุโรปครึ่งหนึ่ง และมีไขมันค่อนข้างสูง
          การเลี้ยงโคนมอย่างมีประสิทธิภาพนั้นพิจารณาจากการที่โคให้นมในปริมาณสูงในขณะที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ   สามารถทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ โคจะต้องเชื่องและรีดนมง่าย ไม่ต้องใช้ลูกโคกระตุ้นเวลารีดนม
          ใน พ.ศ. ๒๕๓๐  ประเทศไทยมีแม่โคนมพันธุ์ดีที่กำลังให้นมมากกว่า ๓๐,๐๐๐ ตัว กระจายอยู่ทั่วประเทศ  ในแต่ละวันสามารถผลิตน้ำนมดิบได้มากกว่า ๒๐๐ ตัน  ซึ่งถ้าคิดเฉลี่ยต่อตัวต่อวันแล้ว  ผลิตผลของโคนมในประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ให้ผลิตผลเพียงประมาณ ๙-๑๐ กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน หรือประมาณ ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ กิโลกรัมต่อช่วงเวลาการให้นมช่วงเวลาหนึ่ง (lactation)  แม้ว่าโคนมพันธุ์ผสมจำนวนหนึ่งอาจให้นมได้ถึง ๒๐ กิโลกรัมต่อตัวต่อวันก็ตาม
          การพัฒนาหรือปรับปรุงพันธุ์   การพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์  การพัฒนาการผสมเทียมและการบริการสัตวแพทย์  และการพัฒนาการจัดการฟาร์ม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำนมดิบได้ดังนี้
          การพัฒนาหรือการปรับปรุงพันธุ์  จะช่วยให้ได้โคลูกผสมที่สามารถให้นมได้มากที่สุด และสามารถเลี้ยงได้ในสภาพแวดล้อมในประเทศไทยจนในที่สุดสามารถสร้างพันธุ์แท้ของตนเองได้   ในระยะแรกจำเป็นต้องใช้โคพันธุ์ยุโรปซึ่งให้น้ำนมสูงผสมกับโคพันธุ์พื้นเมืองซึ่งทนต่ออากาศร้อนได้โดยจะต้องคัดพันธุ์อย่างเข้มงวด
          การพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์จะมีผลต่อการเพิ่มผลิตผลและลดรายจ่ายอย่างมากเพราะหญ้าเป็นอาหารหลักของโคนม และมีราคาถูก  จึงต้องพัฒนาและบำรุงรักษาเป็นอย่างดีเพื่อให้มีปริมาณหญ้าเพียงพอแก่โคนม  หญ้าที่โคนมชอบกินได้แก่ หญ้าขน และหญ้าตระกูลถั่วต่างๆ ในบางฤดูกาลอาจมีหญ้าไม่เพียงพอเกษตรกรจึงต้องทำหญ้าแห้งและหญ้าหมักไว้ด้วยแต่เนื่องจากหญ้าเป็นอาหารหยาบ   มีโปรตีนต่ำ และมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำนม  เกษตรกรจึงมักใช้อาหารข้นเพิ่มเติม เช่น เมล็ดพืชหรือผลพลอยได้จากเมล็ดพืช ได้แก่ ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพด กากถั่ว กากน้ำตาลตลอดจนอาหารเสริมที่มีสารอาหารต่างๆ ด้วย 



     



    วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    กระต่าย

    กระต่าย



                กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แพร่พันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว ออกลูกครอกหนึ่งประมาณ 6-10 ตัว กระต่ายเป็นสัตว์สุภาพ ชอบอยู่เงียบ ๆ เป็นฝูง อาหารส่วนใหญ่จะเป็นหญ้าและอาหารเม็ด

               ผู้เลี้ยงทั่วไปมักคิดว่ากระต่ายเป็นสัตว์ที่ตายง่าย แค่ตกใจก็ตายแล้ว ความจริงก็ไม่ถึงขนาดนั้น แล้วแต่ตัวมากกว่า เคยมีกระต่ายหลายตัวที่มารับการรักษาทำแผลซึ่งเจ็บมาก แต่ก็ถึงกับไม่ช็อคตาย ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และลักษณะของภูมิอากาศ ณ จุด ๆ นั้นด้วย เพราะส่วนใหญ่กระต่ายจะช็อคได้ถ้าร้อนมาก ๆ 

               การหิ้วหูกระต่ายเป็นสิ่งไม่ควรทำ เพราะบริเวณหูมีเส้นเลือดเยอะมาก อาจทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นฉีกขาด หูจะช้ำ การจับที่ถูกต้องคือให้จับบริเวณหนังด้านท้ายทอยและช้อนก้นเพื่อช่วยรองรับน้ำหนัก ส่วนสถานที่เลี้ยงต้องไม่ร้อนจัด ไม่ชื้นแฉะ ลมไม่พัดแรง มีอากาศถ่ายเทสะดวก กรงต้องสะอาดและการให้อาหาร การเปลี่ยนน้ำต้องสะอาดเสมอ สิ่งสำคัญควรปล่อยให้กระต่ายได้วิ่งเล่นออกกำลังกายบ้าง จะทำให้เขามีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสและไม่เหงาเกินไป"

                นอกจากนี้ การเลี้ยงกระต่ายควรต้องระวังโรคด้วย เพราะจะมีโรคทั้งที่คนติดจากสัตว์และโรคที่สัตว์เป็นแล้วไม่ติดคน  สำหรับโรคที่พบในกระต่ายส่วนใหญ่ จะมีโรคท้องเสียจากเชื้อบิด ซึ่งจะทำให้หูแดงคัน หรือบิดเบี้ยว โรคติดเชื้อราบริเวณฟันของกระต่าย ฯลฯ กรณีที่เลี้ยงกระต่ายร่วมกับสุนัขและแมวควรนำมาฉีดวีคซีนป้องกันพิษสุนขบ้า ซึ่งการฉีดวัคซีนสามารถทำได้เมื่อกระต่ายอายุ 4 เดือนขึ้นไป
                       ปัจจุบันกระต่ายมีหลากหลายพันธุ์ให้เลือก การที่จะตัดสินใจเลี้ยงกระต่ายสักตัว ควรเข้าใจถึงธรรมชาติของเขา ศึกษาถึงการดำรงชีวิตและลักษณะและนิสัยของพันธุ์นั้นด้วยว่าเป็นอย่างไร โดยทำความรู้จักให้ดีก่อนรับมันเข้าบ้าน ส่วนการเลือกซื้อกระต่ายควรเลือกเมื่ออายุประมาณหนึ่งเดือนครึ่งขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่หย่านมและเริ่มกินอาหารปกติได้แล้ว จะช่วยลดปัญหาเรื่องเลี้ยงกระต่ายเด็กเกินไปแล้วเสียชีวิต ลักษณะกระต่ายที่ดีคือต้องแจ่มใส ตาไม่ขุ่น ไม่มีขี้ตา ไม่มีน้ำมูก ดูก้นว่าสะอาดไม่เลอะเทอะ ตามตัวไม่มีบาดแผล สะเก็ดหรือขนร่วง อาการขาแป  ฯลฯ เป็นต้น
                
               ผู้เลี้ยงควรสังเกตกระต่ายเป็นประจำด้วยว่ามีอาการป่วยเกิดขึ้นหรือไม่ เช่นไม่ดื่มน้ำ ไม่กินอาหาร ขนร่วง ซึม เป็นแผล มีขี้มูกขี้ตา  บางตัวอาจเป็นไรในหู คือขี้หูรวมตัวเป็นแผ่นหนา ซึ่งกระต่ายจะคันมาก หรือในกรณีที่กระต่ายเป็นตาฝ้า ลูกตามีหนองอยู่ข้างใน หรือมีน้ำตาไหล อาจเกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ ขนทิ่มตา ท่อน้ำตาตัน ฝุ่นผงควัน ฯลฯ ก็ไม่ควรปล่อยไว้ควรพามาให้สัตวแพทย์ตรวจหาความผิดปกติเพื่อรักษาได้ทันการณ์
               
                "กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่อง ไร้เดียงสาและน่ารัก ส่วนใหญ่มีชีวิตที่น่าเศร้าเพราะอยู่ในป่ามักเป็นผู้ถูกล่า หรือไม่ก็เป็นสัตว์ทดลองในห้องแล็ป วันนี้กระต่ายอาจกลายเป็นสัตว์นำโชคของมนุษย์โดยไม่รู้ตัว หากเลี้ยงเพื่อเสริมดวงก็ควรดูแลเอาใจใส่เขาอย่างดีที่สุด ทำให้เขามีความสุข ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อเขาจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ

                 การเลี้ยงควรให้หญ้าสดและหญ้าแห้งเป็นอาหารหลัก เสริมผักและผลไม้เล็กน้อย การให้หญ้ามีประโยชน์กับกระต่ายมาก เพราะส่งผลต่อสุขภาพและการขับถ่าย ช่วยในการลับฟันตลอดจนป้องกันปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับฟัน นอกจากนี้ในฤดูฝนและหนาวกระต่ายจะเป็นหวัดและปอดบวมง่าย มีปัญหาเรื่องผิวหนัง ความอับชื้นและเชื้อรา ส่วนฤดูร้อนจะมีปัญหาเรื่อง Heat Stroke หรือการช็อคจากความร้อน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่และดูแลเขาเป็นพิเศษในฤดูกาลต่าง ๆ "




    กบเศรษฐกิจ

    กบคอนโด

    วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกบคอนโด
    1. ยางรถ (ขนาดของยางรถต่อจำนวนกบที่เลี้ยง รถแทรกเตอร์ เลี้ยงได้100 ตัว,ขนาด รถ 10 ล้อ เลี้ยงได้ 50 ตัว,ขนาด 6 ล้อ เลี้ยงได้ 30 ตัว,ขนาด 4 ล้อเลี้ยงได้ 20 ตัว)
    2. ทรายหยาบ
    3. ตะแกรง
    4. กบพันธุ์
    5. ปูนขาว
    6. อาหารปลาดุก
    7. ถาดวางอาหาร

    วิธีการเลี้ยงกบคอนโด


    1. เริ่มต้นด้วยการหาพื้นที่เลี้ยงกบ(แสงแดดส่องรำไร)
    2. ใช้ทรายหยาบถมหนาประมาณ 6 นิ้ว
    3. เสร็จแล้วให้ใช้ตะแกรงรองพื้น
    4. แล้วเทหินเกล็ดทับตะแกรง หนาประมาณ 3 นิ้ว
    5. วางคอนโด (ยางรถ 3 เส้น ซ้อนทับขั้นไป)
    6. ปล่อยกบลงในยางรถ
    7. นำตะแกรงปิดปากคอนโดของกบ ด้านบน เพื่อป้องกันกบกระโดดออกไป

    อาหารกบและการให้อาหาร


    1. ใช้อาหารปลาดุกเม็ดใหญ่ ให้กบกินทุกเช้า เย็น โดยวางอาหารไว้ในถาดด้านล่างคอนโด
    2. อาหารเสริมเป็นผักบุ้งหั่นฝอย ให้กิน ทุก 2 วัน/ครั้ง
    3. ใส่น้ำ 2 คอนโด (ชั้นที่ 1 และ 2) ถ่ายน้ำทุก 3 วัน
    4. ล้างหินและอุปกรณ์ให้สะอาด ล้างด้วยจุลินทรีย์ผลไม้
    5. ใช้ไฟส่อง ล่อแมลงให้กบกิน เป็นอาหารเสริม
    6. เลี้ยงไปประมาณ 20 วัน ให้แยกขนาดกบเล็ก-ใหญ่

    พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง

    กบที่ควรนำมาเลี้ยงเป็นกบคอนโด เป็นกบพันธุ์ โดยสามารถติดต่อซื้อได้ที่เกษตรกร โรงเรียนบ้านกาศประชานุเคราะห์ หรืออาจารย์นิคม จิตมณีธรรม เบอร์โทร.0-5462-0510หรือ 089-7572766 หรือหน่วยงานเกษตรจังหวัดของตนเอง

    ระยะเวลาการเลี้ยงกบ

    จะอยู่ที่ประมาณ 60 วันหรือมากน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลของเกษตรเอง โดยทั่วไปแล้วการเลี้ยงกบจะใช้เวลา 2 เดือนเท่านั้น

    ข้อดีและข้อเสียของการเลี้ยงกบคอนโด

    ข้อดี
    1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่จำกัดได้ดี และดีกว่าการเลี้ยงแบบใส่ขวดพลาสติก
    2. ลงทุนต่ำ กว่าเลี้ยงในบ่อปูน
    3. ให้อาหารกบได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปลืองอาหาร
    4. ควบคุมโรคได้ง่าย ถ่ายน้ำสะดวก และใช้น้ำน้อยกว่า
    5. เหมาะกับผู้เริ่มทดลองเลี้ยงเพื่อศึกษา ไม่หวังผลกำไร
    ข้อเสีย
    1. ยากต่อการสังเกตและดูแล หากเลี้ยงในปริมาณมากๆ
    2. ไม่เหมาะกับการเลี้ยงจริงจังเชิงพาณิชย์ ที่ต้องมีปริมาณผลผลิตต่อเดือนสูง


    เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์
    เงินลงทุน 

                 ประมาณ 8,000 บาท ต่อการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 4 บ่อ

    รายได้ 
                 ครั้งแรก 16,000 - 24,000 บาท

    วัสดุ/อุปกรณ์ 
                 แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต

    วิธีดำเนินการ
              2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด

             3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
              2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด
             3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
             3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
                 ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก


    การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน 
                เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว

    การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต 


               เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้


    10 อันดับ สายพันธ์แมวที่สวยที่สุดในโลก

    10 อันดับแมวที่สวยที่สุดในโลก

    อันดับที่ 10 ได้แก่ แมงซ์ (Manx) แมวไม่มีหาง

    อันดับที่ 9 ได้แก่ อเมริกันขนสั้น มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โครงสร้างลำตัวใหญ่โต มีกล้ามเนื้อแข็งแรงเห็นชัดเจน อกใหญ่ ขาใหญ่ ยาวขนาดปานกลาง ใบหูขนาดกลางและขอบเป็นทรงกลมมน หัวรูปไข่แต่มีคางที่ค่อนข้างใหญ่ชัดเจน ดวงตาแมวพันธุ์นี้กลมโต ขอบตาด้านนอกด้านบนจะโค้งลงมา สีของตาเป็นสีเขียว
    อันดับที่ 8 ได้แก่ ชอซี (Chausie) แมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธ์
    อันดับที่ 7 ได้แก่ เทอร์คิชแองโกรา (Turkish Angora) เป็นแมวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศตุรกี ที่ได้รับชื่อ Angora ต่อท้าย เนื่องจากเป็นแมวตุรกีขนยาวจากเมืองแองโกรานั่นเอง
    อันดับที่ 6 ได้แก่ แร็กดอลล์ มีลักษณะเหมือนตุ๊กตาผ้า เวลาอุ้มขึ้นมาก็ทำตัวอ่อนเหมือนไม่มีกระดูก ขนบริเวณเอวแน่นฟู มีเสียงร้องที่เบามาก และเป็นแมวที่ชอบความเงียบ
    อันดับที่ 5 ได้แก่ ทอยเกอร์ (Toyger) เป็น แมวสายพันธุ์ หนึ่งที่ได้รับการพัฒนาผสมข้ามสายพันธุ์โดย Judy Sudgen แมว ทอยเกอร์ (Toyger) แมว ที่เหมือนเสือที่สุด
    อันดับที่ 4 ได้แก่ เปอร์เซียน (Persian) มีอุปนิสัยอ่อนโยน สุขุมเข้ากับคนง่าย มี ความร่าเริงซุกซน ชอบประจบประแจงและมีไหวพริบ
    อันดับที่ 3 ได้แก่ Ashera มีการผสมแมวพันธุ์ใหม่Asheraออกขาย ในราคาแพงลิบลิ่ว Ashera ราคาตัวละเจ็ดแสนกว่า เมื่อคุณสั่งซื้อและจ่ายเงินเรียบร้อย ก็ต้องรอเขาผสม และส่งให้ ในเวลา 9 ถึง 12 เดือน หากต้องการเร็วเขาก็จะลัดคิวให้ แต่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก เกือบ 2 แสน เขาก็จะส่งถึงบ้านเลย สรุปแล้วตัวละเกือบล้านทีเดียว ทางผู้ผสมพันธุ์เขาตั้งเป้าไว้ แค่ปีละ 100 ตัวทั่วโลก แต่ให้เฉพาะในอเมริกาก็ 50 ตัวแล้ว ที่เหลือ เศรษฐีประเทศต่างๆต้องแย่งกันเอาเอง
    อันดับที่ 2 ได้แก่ The Sandcat เป็นแมวรูปร่างเล็กมีความยาวเกือบ 50 ซม. เติบโตในทะเลทราย สามารถอยู่รอดใน อุณหภูมิ ตั้งแต่ -5 องศา C (23 องศา F) 52 องศา C (126 องศา F)
    อันดับที่ 1 ได้แก่ สก็อตทิช โฟลด์(Scottish Fold) เป็นแมวที่มีถิ่นกำเนิดมาจากสกอตแลนด์ เป็นแมวขนาดกลาง ศีรษะกลม หูพับหรือตั้ง บางตัวหูจะพับเพียงครึ่งเดียว พับ 2 ส่วนหรือพับ 3 ส่วน จะมีทั้งขนสั้นและขนยาว ลักษณะของหัวเพศผู้จะมีลักษณะกลมโตกว่าหัวของตัวเมีย สำหรับอุปนิสัยจัดเป็นแมวที่มีความสุภาพ เรียบร้อย ไม่ซนอารมณ์ดี ขี้เล่น มีความกระตือรือร้น ชอบคลอเคลีย ขี้อ้อนและขี้ประจบเจ้าของ