การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทุน สถานที่ ตลาด และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบ ในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะทุนในการดำเนินการ
1.ทุนสำหรับเชื้อโรค
2.ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์
3.ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้า
4.ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลปประทาน
5.ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึงทุนหมุนเวียน เช่น ค่าอาหารหรือค่าแรงงานต่าง ๆ เป็นต้น
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธี ซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละ บุคคล ในการเริ่มต้นที่จะเลี้ยง ซึ่งอาจพอแนะนำ พอเป็นสังเขปได้ เช่น
1.เริ่มต้นโดยการหา หรือเลือกซื้อแม่โคพันธุ์พื้นเมืองหรือแม่ที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็น โรคติดต่อมาเลี้ยง
2. แล้วใช้วิธีผสมเทียนกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรป พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง เมื่อได้ ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม 50%
3.ซึ่งเมื่อเลี้ยงดูต่อไปอีกประมาณ 30-36 เดือน ก็จะให้ลูกตัวแรก แม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้
4.เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยงโดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กิน ในปริมาณจำกัด
5.พร้อมทั้งให้อาหารข้นลูกโคอ่อนและหญ้าจนกระทั่งหย่านมถึงอายุผสมพันธุ์-ตั้งท้อง- คลอดลูก และเริ่มรีดนมได้
6.เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม, โครุ่น, โคสาว หรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคยให้นมแล้วจากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนเร็ว
อย่างไรก็ตาม อาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้ หรืออาจเป็นอาชีพรองอาชีพหนึ่ง ที่เกษตรกรควรจะทำควบคู่กันไปกับอาชีพอื่นก็ย่อมได้เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ปัจจุบันมีเกษตรกร จำนวนมากที่หันมาประกอบอาชีพการเลี้ยงโคทั้งนี้เพราะได้เห็นตัวอย่างจากเพื่อเกษตรกรที่ยึดอาชีพเลี้ยงโค นมมาก่อน ปรากฏว่ามีรายได้ดี สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้ครอบครัวมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น อีกทั้ง ยังได้รับผลพลอยได้อื่น ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น ทำให้เด็ก ๆ มีจิตใจรักสัตว์ มีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มูลสัตว์ยังใช้เป็นปุ๋ยและช่วยบำรุงดิน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรอีกเป็น จำ
อย่างไรก็ตาม อาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้ หรืออาจเป็นอาชีพรองอาชีพหนึ่ง ที่เกษตรกรควรจะทำควบคู่กันไปกับอาชีพอื่นก็ย่อมได้เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ปัจจุบันมีเกษตรกร จำนวนมากที่หันมาประกอบอาชีพการเลี้ยงโคทั้งนี้เพราะได้เห็นตัวอย่างจากเพื่อเกษตรกรที่ยึดอาชีพเลี้ยงโค นมมาก่อน ปรากฏว่ามีรายได้ดี สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้ครอบครัวมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น อีกทั้ง ยังได้รับผลพลอยได้อื่น ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น ทำให้เด็ก ๆ มีจิตใจรักสัตว์ มีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มูลสัตว์ยังใช้เป็นปุ๋ยและช่วยบำรุงดิน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรอีกเป็น จำ
หลักในการเลือกซื้อโคนม
ไม่ว่าเกษตรกรจะเริ่มต้นเลี้ยงโคนมด้วยวิธีใดก็ตามควรจะมีหลักในการพิจารณาเลือกซื้อโคนมบ้าง เพื่อให้ได้สัตว์ที่มีคุณภาพดี ซึ่งหลักในการ พิจารณาเลือกซื้อโคนมดังกล่าวมีอยู่หลายประการอาจ กล่าวแนะนำพอเป็นสังเขปได้ คือ
1.ไม่ว่าจะเลือกซื้อโคขนาดใดก็ตามต้องสอบถามประวัติ ซึ่งหมายถึงสายพันธุ์และความเป็นมา อย่างน้อยพอสังเขป
2.ถ้าเป็นโครีดนมควรจะเป็นแม่โคที่ให้ลูกตัวที่ 1 ถึงตัวที่ 4
3.ถ้าเป็นแม่โคที่รีดนมมาหลายเดือนควรจะตั้งท้องด้วย
4.ถ้าเป็นโคสาวหรือแม่โคนมแห้งก็ควรจะเป็นแม่โคที่ตั้งท้องด้วย เพื่อเป็นการย่นระยะเวลาจะได้รีดนมเร็ว ขึ้น
5.ควรเป็นโคที่มีประวัติการให้นมดีพอใช้และต้องปอดจากโรคแท้งติดต่อและโรควัณโรค
การรีดนม
คือ การกระทำอย่างใดอยางหนึ่งเพื่อที่จะเอานมออกจากเต้านมของแม่โค น้ำนมส่วนมากจะถูกขับออกมาโดยการกระตุ้นทางระบบประสาทและฮอร์โมนพร้อม ๆ กับการรีด นั่นคือ การทำให้ภายในหัวนมเกิดมีแรงอัดดันจนทำให้รูหูนมเปิดออก น้ำนมซึ่งอยู่ภายในจึงไหลออกได้
ขั้นตอนในการรีดนมเพื่อให้ได้น้ำนมที่สะอาด
1. การเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำยาคลอรีนอย่างเจือจาง
2. การเตรียมอุปกรณ์การรีดซึ่งรวมถึงผู้ที่ทำการรีดและแม่โค ให้เรียบร้อยการเตรียมการต่าง ๆ ควรจัดการให้สะอาดหรือฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาคลอรีน
3. ทำความสะอาดตัวโคและบริเวณคอกที่สกปรก
4. ล้างเต้านมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำยาคลอรีนพร้อมกับนวดเช็ดเบา ๆ
5. ก่อนลงมือรีดควรตรวจสอบความผิดปกติของน้ำนมหรือทำการรีดน้ำนมที่ค้างอยู่ในหัวนมทิ้งเสียก่อน
6. ขณะลงมือรีดนมควรรีบรีดให้เร็วที่สุดไม่หยุดพัก กะให้เสร็จภายใน 5 - 8 นาที และต้องรีดให้หมดทุกเต้า
วิธีการหยุดรีดนมแม่โค
ในการหยุดรีดนมแม่โค โดยเฉพาะแม่โคที่เคยให้นมมาก ๆ ควรจะต้องระมัดระวังในการหยุดรีด เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคเต้านมอักเสบได้โดยง่าย วิธีการหยุดรีดควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือ ในขั้นต้นอย่ารีดให้น้ำนมหมดเต้าเลยทีเดียว ในช่วงแรก ๆ ควรค่อย ๆ ลดอาหารข้นลงบ้างตามส่วน แล้วต่อไปจึงเริ่มลดจำนวนครั้งที่รีดนมในวันหนึ่ง ๆ ลงมาเป็นวันละครั้ง ต่อมาก็รีดเว้นวันและต่อมาก็เว้นช่วงให้นานขึ้น จนกระทั่งหยุดรีดนม ในที่สุดซึ่งปกติโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้เวลาประมาณ 15 - 30 วัน และในขณะที่หยุดพักรีดนมนี้จะต้องหมั่นสังเกตเต้านมอยู่เสมอ ถ้าปรากฏว่าบวมแดงหรืออักเสบ ต้องรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยรักษาและต้องหวนกลับมารีดนมตามเดิมไปก่อน ถ้าไม่มีโรคแทรกแล้วเต้านมของแม่โคที่พักการให้นมใหม่ ๆ โดยทั่วไปก็จะคัดเต้าอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วจึงค่อย ๆ ลีบเล็กลงไปในที่สุด
ปัญหาที่พบบ่อยในการรีดนม
1. ถ้ารู้ว่าโคตัวใดเป็นโรคเต้านมอักเสบให้ทำการรีดหลังโคตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระจายของโรค และควรรีดเต้าที่อักเสบทีหลังสุด และให้ระวังการเช็ดล้างเต้านม
2. ถ้าโคตัวใดเป็นแผลหรือเป็นฝีที่หัวนม ขณะที่ทำการรีดนมแม่โคอาจแสดงอาการเจ็บปวด อาจทำร้ายคนรีดได้ในกรณีเวลารีดควรแตะต้องแผลให้น้อยที่สุดและควรรีบจัดการรักษาใส่ยาหรือใช้ขี้ผึ้งทา หลังรีดนมเสร็จแล้วควรล้างมือให้สะอาดด้วย
3. ถ้ามีโคตัวใดนมรั่ว ซึ่งเกิดจากเต้านมคัดซึ่งเป็นเพราะกล้ามเนื้อวงแหวนที่รัดรูหัวนมไม่แข็งแรงพอหรือค่อนข้างเสื่อมสมรรถภาพ กรณีที่ไม่มีแนวทางแก้ไขอาจใช้จุกปิดหรืออุดรูหัวนม หรือใช้วิธีรีดนมให้ถี่ขึ้นก็ได้
4. ถ้าพบว่าแม่โคบางตัวให้น้ำนมที่มีสีผิดปกติเกิดขึ้น กล่าวคือ น้ำนมอาจเป็นสีแดงหรือมีสีเลือดปนออกมา ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นเลือดฝอยในเต้านมแตกซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ จะค่อย ๆ หายไปเองในไม่ช้า น้ำนมที่ได้ควรนำไปให้ลูกโคกินไม่ควรบริโภค
5. ถ้าพบว่าแม่โคตัวใดเตะเก่ง ขณะทำการรีดจะต้องใช้เชือกมัดขา ซึ่งควรค่อย ๆ ทำการฝึกหัดให้เคยชิน โดยไมต้องใช้เชือกมัด เพราะวิธีการมัดขารีดนมไม่ใช่เป็นวิธีการที่ดีจะทำให้วัวเคยตัว
คือ การกระทำอย่างใดอยางหนึ่งเพื่อที่จะเอานมออกจากเต้านมของแม่โค น้ำนมส่วนมากจะถูกขับออกมาโดยการกระตุ้นทางระบบประสาทและฮอร์โมนพร้อม ๆ กับการรีด นั่นคือ การทำให้ภายในหัวนมเกิดมีแรงอัดดันจนทำให้รูหูนมเปิดออก น้ำนมซึ่งอยู่ภายในจึงไหลออกได้
การรีดนมมีอยู่ 2 วิธีคือ 1. การรีดนมด้วยมือ 2. การรีดนมด้วยเครื่อง หลักที่ควรคำนึงถึงและถือปฏิบัติในการรีดนม 1. ควรรีดให้สะอาด 2. ควรรีดให้เสร็จโดยเร็ว 3. ควรรีดให้น้ำนมหมดเต้า | อุปกรณ์การรีดนมด้วยมือ |
1. การเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำยาคลอรีนอย่างเจือจาง
2. การเตรียมอุปกรณ์การรีดซึ่งรวมถึงผู้ที่ทำการรีดและแม่โค ให้เรียบร้อยการเตรียมการต่าง ๆ ควรจัดการให้สะอาดหรือฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาคลอรีน
3. ทำความสะอาดตัวโคและบริเวณคอกที่สกปรก
4. ล้างเต้านมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำยาคลอรีนพร้อมกับนวดเช็ดเบา ๆ
5. ก่อนลงมือรีดควรตรวจสอบความผิดปกติของน้ำนมหรือทำการรีดน้ำนมที่ค้างอยู่ในหัวนมทิ้งเสียก่อน
6. ขณะลงมือรีดนมควรรีบรีดให้เร็วที่สุดไม่หยุดพัก กะให้เสร็จภายใน 5 - 8 นาที และต้องรีดให้หมดทุกเต้า
การรีดนมด้วยมือ กระทำได้โดยการ ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้บีบหรือรีดหัวนมตอนบน เพื่อเป็นการปิดทางนมเป็นการกันไม่ให้น้ำนมในหัวนมหนีขึ้นไปอยู่ตอนบน ต่อมาก็ใช้นิ้วที่เหลือ (กลาง, นาง, ก้อย) ทำการบีบไล่น้ำนมตั้งแต่ตอนบนเรื่อยลงมาข้างล่างจะทำให้ภายในหัวนมมีแรงอัดและน้ำนมจะถูกดันผ่านรูนมออกมาและเมื่อขณะที่ปล่อยช่องนิ้ว (หัวแม่มือ, นิ้วชี้) ที่รีดนัวนมตอนบนออก น้ำนมซึ่งมีอยู่ในถุงพับนมข้างบนจะไหลลงมาส่วนล่าง เป็นการเติมให้แก่หัวนมอีกเป็นเช่นนี้ตลอดระยะเวลาที่รีดจนกระทั่งน้ำนมหมด | การรีดนมด้วยมือ |
วิธีการหยุดรีดนมแม่โค
ในการหยุดรีดนมแม่โค โดยเฉพาะแม่โคที่เคยให้นมมาก ๆ ควรจะต้องระมัดระวังในการหยุดรีด เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคเต้านมอักเสบได้โดยง่าย วิธีการหยุดรีดควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือ ในขั้นต้นอย่ารีดให้น้ำนมหมดเต้าเลยทีเดียว ในช่วงแรก ๆ ควรค่อย ๆ ลดอาหารข้นลงบ้างตามส่วน แล้วต่อไปจึงเริ่มลดจำนวนครั้งที่รีดนมในวันหนึ่ง ๆ ลงมาเป็นวันละครั้ง ต่อมาก็รีดเว้นวันและต่อมาก็เว้นช่วงให้นานขึ้น จนกระทั่งหยุดรีดนม ในที่สุดซึ่งปกติโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้เวลาประมาณ 15 - 30 วัน และในขณะที่หยุดพักรีดนมนี้จะต้องหมั่นสังเกตเต้านมอยู่เสมอ ถ้าปรากฏว่าบวมแดงหรืออักเสบ ต้องรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยรักษาและต้องหวนกลับมารีดนมตามเดิมไปก่อน ถ้าไม่มีโรคแทรกแล้วเต้านมของแม่โคที่พักการให้นมใหม่ ๆ โดยทั่วไปก็จะคัดเต้าอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วจึงค่อย ๆ ลีบเล็กลงไปในที่สุด
ปัญหาที่พบบ่อยในการรีดนม
1. ถ้ารู้ว่าโคตัวใดเป็นโรคเต้านมอักเสบให้ทำการรีดหลังโคตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระจายของโรค และควรรีดเต้าที่อักเสบทีหลังสุด และให้ระวังการเช็ดล้างเต้านม
2. ถ้าโคตัวใดเป็นแผลหรือเป็นฝีที่หัวนม ขณะที่ทำการรีดนมแม่โคอาจแสดงอาการเจ็บปวด อาจทำร้ายคนรีดได้ในกรณีเวลารีดควรแตะต้องแผลให้น้อยที่สุดและควรรีบจัดการรักษาใส่ยาหรือใช้ขี้ผึ้งทา หลังรีดนมเสร็จแล้วควรล้างมือให้สะอาดด้วย
3. ถ้ามีโคตัวใดนมรั่ว ซึ่งเกิดจากเต้านมคัดซึ่งเป็นเพราะกล้ามเนื้อวงแหวนที่รัดรูหัวนมไม่แข็งแรงพอหรือค่อนข้างเสื่อมสมรรถภาพ กรณีที่ไม่มีแนวทางแก้ไขอาจใช้จุกปิดหรืออุดรูหัวนม หรือใช้วิธีรีดนมให้ถี่ขึ้นก็ได้
4. ถ้าพบว่าแม่โคบางตัวให้น้ำนมที่มีสีผิดปกติเกิดขึ้น กล่าวคือ น้ำนมอาจเป็นสีแดงหรือมีสีเลือดปนออกมา ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นเลือดฝอยในเต้านมแตกซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ จะค่อย ๆ หายไปเองในไม่ช้า น้ำนมที่ได้ควรนำไปให้ลูกโคกินไม่ควรบริโภค
5. ถ้าพบว่าแม่โคตัวใดเตะเก่ง ขณะทำการรีดจะต้องใช้เชือกมัดขา ซึ่งควรค่อย ๆ ทำการฝึกหัดให้เคยชิน โดยไมต้องใช้เชือกมัด เพราะวิธีการมัดขารีดนมไม่ใช่เป็นวิธีการที่ดีจะทำให้วัวเคยตัว
การรีดนมด้วยเครื่องรีดนมมีขั้นตอน ดังนี้
1.เตรียมเครื่องรีดนม เปลี่ยนใส้กรองของท่อเครื่องรีดนมให้เรียบร้อย
2.ประกอบตัวถังเครื่องรีดนมแยกจากเครื่องใหญ่ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมตรวจเช็กอุปกรณ์ในห้องรีดให้ครบ
3.เปิดระบบเครื่องรีดนมให้ทำงานพร้อมเตรียมตัวรีดนมต่อไป
4.ปล่อยแม่โครีดนมเข้าห้องรีดนม
5.ทำความสะอาดเต้าแม่โครีดนมให้เรียบร้อย โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดเต้านมที่เตรียมไว้ พร้อมกระตุ้นเต้านมให้แม่โคปล่อยน้ำนม และตรวจทานไม่โคนมจะต้องไม่เป็นเต้านมอักเสบ ในกรณีที่เป็นก็รีดใส่ถังแยกต่างหากไม่ใช้เครื่องใหญ่รีดรวมปะปนกันเข้าไปในถังเก็บนมใหญ่
6.จากนั้นก็สวมหัวเครื่องรีดนมได้ ขั้นตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับระบบของเครื่องรีดนม อาทิ บางรุ่นจะต้องกดปุ่ม รีดนมก่อนถึงจะรีดได้ บางรุ่นสามารถดึงมาสวมใส่เต้านมได้เลย เป็นต้น
7.รอจนกว่าหัวรีดนมจะหยุดทำงานเองโดยอัตโนมัติ เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปยื่นรอสามารถไปรีดนมตัว อื่นได้เลย แล้วหัวรีดนมจะหยุดเองโดยอัตโนมัติ
8.เมื่อหัวรีดนมหยุดทำงานแล้ว ก็ไปตรวจเต้านมของแม่โคดูว่าแม่โคตัวนั้นๆ ให้นมหมดเต้าหรือยัง ใน กรณีให้ยังไม่หมดเต้าเราสามารถรีดนมซ้ำอีกรอบก็ได้ เมื่อตรวจทานครบทุกตัวแล้ว ปล่อยโคชุดนั้นๆ ออกไปได้แล้วเตรียมตัวรีดแม่โคนมชุดต่อไป
ตัวอย่าง อุปกรณ์การรีดนมด้วยเครื่องรีดนม
เครื่องรีดนม
การเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
1.เตรียมเครื่องรีดนม เปลี่ยนใส้กรองของท่อเครื่องรีดนมให้เรียบร้อย
2.ประกอบตัวถังเครื่องรีดนมแยกจากเครื่องใหญ่ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมตรวจเช็กอุปกรณ์ในห้องรีดให้ครบ
3.เปิดระบบเครื่องรีดนมให้ทำงานพร้อมเตรียมตัวรีดนมต่อไป
4.ปล่อยแม่โครีดนมเข้าห้องรีดนม
5.ทำความสะอาดเต้าแม่โครีดนมให้เรียบร้อย โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดเต้านมที่เตรียมไว้ พร้อมกระตุ้นเต้านมให้แม่โคปล่อยน้ำนม และตรวจทานไม่โคนมจะต้องไม่เป็นเต้านมอักเสบ ในกรณีที่เป็นก็รีดใส่ถังแยกต่างหากไม่ใช้เครื่องใหญ่รีดรวมปะปนกันเข้าไปในถังเก็บนมใหญ่
6.จากนั้นก็สวมหัวเครื่องรีดนมได้ ขั้นตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับระบบของเครื่องรีดนม อาทิ บางรุ่นจะต้องกดปุ่ม รีดนมก่อนถึงจะรีดได้ บางรุ่นสามารถดึงมาสวมใส่เต้านมได้เลย เป็นต้น
7.รอจนกว่าหัวรีดนมจะหยุดทำงานเองโดยอัตโนมัติ เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปยื่นรอสามารถไปรีดนมตัว อื่นได้เลย แล้วหัวรีดนมจะหยุดเองโดยอัตโนมัติ
8.เมื่อหัวรีดนมหยุดทำงานแล้ว ก็ไปตรวจเต้านมของแม่โคดูว่าแม่โคตัวนั้นๆ ให้นมหมดเต้าหรือยัง ใน กรณีให้ยังไม่หมดเต้าเราสามารถรีดนมซ้ำอีกรอบก็ได้ เมื่อตรวจทานครบทุกตัวแล้ว ปล่อยโคชุดนั้นๆ ออกไปได้แล้วเตรียมตัวรีดแม่โคนมชุดต่อไป
ตัวอย่าง อุปกรณ์การรีดนมด้วยเครื่องรีดนม
เครื่องรีดนม
การเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
น้ำนมที่ใช้บริโภคมีทั้งน้ำนมที่ได้จากพืช เช่น ถั่วเหลือง และน้ำนมที่ได้จากสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค แพะ แกะ กระบือ เป็นต้น น้ำนมโคมีส่วนประกอบที่ใกล้เคียงกับน้ำนมคน (มารดา) มากที่สุด จึงนิยมบริโภคกันทั่วโลก
การเลี้ยงโคนมเพื่อนำน้ำนมมาบริโภคในประเทศไทยเริ่มมานานแล้ว แต่เพิ่งมาเลี้ยงอย่างจริงจังเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์กขึ้นที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ร่วมกับพระเจ้าเฟรเดริคที่ ๙ (King Frederick IX) แห่งประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ศูนย์ฝึกอบรมนี้ ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทดลองเลี้ยงโคนมด้วยพระองค์เอง ในบริเวณสวนจิตรลดา และเมื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถผลิตน้ำนมดิบได้เกินความต้องการของตลาด ก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานนมผง และศูนย์รับนม นอกจากนี้ยังทรงริเริ่มให้มีการจัดตั้งบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ดำเนินการผลิตนมผงใน พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ทรงโอนกิจการของบริษัทนี้ให้สหกรณ์โคนมราชบุรี จำกัด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ในปัจจุบันมีแหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญอยู่ ๔ แห่ง คือ บริเวณจังหวัดสระบุรี-นครราชสีมาลพบุรี บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรีบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณจังหวัดราชบุรี-นครปฐม เกษตรกรในสามแหล่งแรกส่งน้ำนมดิบเข้าโรงงานขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ส่วนแหล่งสุดท้ายส่งเข้าโรงงานของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังได้มีการมีเลี้ยงโคนมกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณใกล้เคียงกับวิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาและบริษัทเอกชนที่มีการแปรรูปนม การเลี้ยงโคนมแม้มีรายจ่ายค่อนข้างสูงแต่ผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคนมจะสูงกว่าการทำนาทำไร่หลายเท่า จึงเป็นการสร้างรายได้ที่ดีของเกษตรกร ทั้งที่มีอาชีพเลี้ยงโคนมโดยตรง และที่เป็นอาชีพเสริม นับว่ามีส่วนช่วยในการสร้างงานในชนบทของชาติ และช่วยลดการสูญเสียเงินตราให้แก่ต่างประเทศจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมชนิดต่างๆ ประกอบกับประเทศไทยก็มีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปศุสัตว์ เนื่องจากอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารสัตว์ เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ผลิตผลพืชไร่ (ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ) วัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมทางการเกษตร (เปลือกข้าว รำข้าว เปลือกสับปะรด ยอดอ้อยกากน้ำตาล ฯลฯ) ซึ่งมีราคาถูก และสามารถเลือกใช้ทดแทนกันได้หากสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีราคาเพิ่มขึ้น ส่วนมูลโคก็มีประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ดินของเกษตรกรและอาจนำมาใช้ทำแก๊สชีวภาพสำหรับใช้ในครอบครัวได้อีกด้วย การเลี้ยงโคนมจึงเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตผลที่ผลิตได้ เช่น แทนที่จะผลิตมันสำปะหลังเพื่อส่งออกสำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ในต่างประเทศก็นำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศเพื่อส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า เป็นต้น นอกจากนี้ทางรัฐบาลก็ได้ให้การส่งเสริมทางด้านสินเชื่อการเกษตร การปรับปรุงพันธุ์สัตว์โดยการผสมเทียม การบริการสัตวแพทย์ และเกษตรกรสามารถขายน้ำนมดิบได้ในราคาประกันที่เป็นธรรม พันธุ์โคที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์โฮลสไตน์ (Holstein) ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ในอังกฤษเรียกว่า ฟรีเชียน (Friesian) ในเดนมาร์กเรียกว่า ขาว-ดำ (Black and White) หรือดัตช์ฟรีเชียน (Dutch friesian) ในอิสราเอลเรียกว่าอิสราเอลฟรีเชียน (Israel friesian) เป็นต้น เป็นโคนมที่มีลักษณะเด่นตรงที่มีสีดำตัดกับสีขาวอย่างชัดเจน โคตัวผู้ที่โตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ ๘๐๐-๑,๐๐๐ กิโลกรัม ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ กิโลกรัม และเจริญเติบโตดีกว่าตัวผู้ แม่โคจะเจริญเต็มที่เมื่ออายุ ๖-๗ ปีมีอายุผสมพันธุ์ประมาณ ๑๘ เดือน คลอดลูกเมื่ออายุได้ ๒๘-๓๐ เดือน การให้นมอยู่ในเกณฑ์สูงประมาณ ๕,๐๐๐ กิโลกรัมต่อปี มีไขมันนม ๓.๕% (ไขมันสีขาวเหมาะที่จะนำไปบริโภค)เคยมีความเชื่อกันว่าโคพันธุ์นี้มีสายเลือด ๑๐๐% ไม่สามารถเลี้ยงได้ดีในประเทศที่มีอากาศร้อน แต่ในอิสราเอลกลับเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ ในประเทศไทยโคพันธุ์นี้ส่วนใหญ่มีสายเลือดผสม ๕๐-๗๕% แต่ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีสายเลือดสูงขึ้นจนสามารถเลี้ยงสายเลือด ๑๐๐% ได้ พันธุ์โคนมที่นิยมเลี้ยงมากอีกพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอำเภอมวกเหล็ก คือ พันธุ์เรดเดน (Red dane) ซึ่งพัฒนาขึ้นที่ประเทศเดนมาร์ก ให้นมและเนื้อใกล้เคียงกับพันธุ์โฮลสไตน์แต่มีปัญหาในการปรับตัวในสภาพอากาศร้อน นอกจากนี้ยังมีโคพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งพัฒนามาจากอินเดียและปากีสถาน คือ พันธุ์เรดซินดิ (Red sindhi) และซาฮิวาล (Sahiwal) ให้นมน้อยกว่าพันธุ์ยุโรปครึ่งหนึ่ง และมีไขมันค่อนข้างสูง การเลี้ยงโคนมอย่างมีประสิทธิภาพนั้นพิจารณาจากการที่โคให้นมในปริมาณสูงในขณะที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ สามารถทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ โคจะต้องเชื่องและรีดนมง่าย ไม่ต้องใช้ลูกโคกระตุ้นเวลารีดนม ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ ประเทศไทยมีแม่โคนมพันธุ์ดีที่กำลังให้นมมากกว่า ๓๐,๐๐๐ ตัว กระจายอยู่ทั่วประเทศ ในแต่ละวันสามารถผลิตน้ำนมดิบได้มากกว่า ๒๐๐ ตัน ซึ่งถ้าคิดเฉลี่ยต่อตัวต่อวันแล้ว ผลิตผลของโคนมในประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ให้ผลิตผลเพียงประมาณ ๙-๑๐ กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน หรือประมาณ ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ กิโลกรัมต่อช่วงเวลาการให้นมช่วงเวลาหนึ่ง (lactation) แม้ว่าโคนมพันธุ์ผสมจำนวนหนึ่งอาจให้นมได้ถึง ๒๐ กิโลกรัมต่อตัวต่อวันก็ตาม การพัฒนาหรือปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์ การพัฒนาการผสมเทียมและการบริการสัตวแพทย์ และการพัฒนาการจัดการฟาร์ม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำนมดิบได้ดังนี้ การพัฒนาหรือการปรับปรุงพันธุ์ จะช่วยให้ได้โคลูกผสมที่สามารถให้นมได้มากที่สุด และสามารถเลี้ยงได้ในสภาพแวดล้อมในประเทศไทยจนในที่สุดสามารถสร้างพันธุ์แท้ของตนเองได้ ในระยะแรกจำเป็นต้องใช้โคพันธุ์ยุโรปซึ่งให้น้ำนมสูงผสมกับโคพันธุ์พื้นเมืองซึ่งทนต่ออากาศร้อนได้โดยจะต้องคัดพันธุ์อย่างเข้มงวด การพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์จะมีผลต่อการเพิ่มผลิตผลและลดรายจ่ายอย่างมากเพราะหญ้าเป็นอาหารหลักของโคนม และมีราคาถูก จึงต้องพัฒนาและบำรุงรักษาเป็นอย่างดีเพื่อให้มีปริมาณหญ้าเพียงพอแก่โคนม หญ้าที่โคนมชอบกินได้แก่ หญ้าขน และหญ้าตระกูลถั่วต่างๆ ในบางฤดูกาลอาจมีหญ้าไม่เพียงพอเกษตรกรจึงต้องทำหญ้าแห้งและหญ้าหมักไว้ด้วยแต่เนื่องจากหญ้าเป็นอาหารหยาบ มีโปรตีนต่ำ และมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำนม เกษตรกรจึงมักใช้อาหารข้นเพิ่มเติม เช่น เมล็ดพืชหรือผลพลอยได้จากเมล็ดพืช ได้แก่ ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพด กากถั่ว กากน้ำตาลตลอดจนอาหารเสริมที่มีสารอาหารต่างๆ ด้วย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น